บทที่2

บทที่ 2

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ในการศึกษาเรื่องกติกาการเล่นแบดมินตัน ผู้จัดทำโครงการได้รวบรวมแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่างๆจากเอกสารที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
2.1 ประวัติกีฬาแบดมินตัน
                แบดมินตัน เป็นกีฬาที่ได้รับการวิจารณ์เป็นอย่างมากเพราะไม่มีหลักซานที่แน่ชัดถึงที่มาของกีฬานี้ คงมีแต่หลักฐานบางอย่างที่ทำให้ทราบว่ากีฬาแบดมินตันมีเล่นในยุโรปโดยเฉพาะในประเทศอังกฤษตอนปลายศตวรรษที่ 17 และจากภาพมีการยืนยันว่ากีฬาแบดมินตันเล่นกันอย่างแพร่หลายในทวีปยุโรป
ประวัติของกีฬาแบดมินตันบันทึกได้แน่นอนในปี พ.ศ. 2413 ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาลูกขนไก่เกิดขึ้นที่เมืองปูนา (Poona) ในประเทศอินเดีย เป็นเมืองเล็กๆ ห่างจากเมืองบอมเปย์โดยได้รวมการเล่นสองอย่างเข้าด้วยกันคือ การเล่นปูนาของประเทศอินเดียและการเล่นไม้ตีกับลูกขนไก่ (Battledore Shuttle Cock) ของยุโรป ในระยะแรกๆการเล่นจะเล่นกันเพียงแต่ในหมู่นายทหารของกองทัพและสมาชิกชนชั้นสูงของอินเดียจนกระทั่งมีนายทหารอังกฤษที่ไปประจำการอยู่ที่เมืองปูนานำการเล่นตีลูกขนไก่นี้กลับไปอังกฤษ และเล่นกันอย่างกว้างขวาง ณคฤหาสน์แบดมินตัน (Badminton House) ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดที่กล๊อสเตอร์เชอร์ ในปี พ.ศ. 2416 เกมกีฬาตีลูกขนไก่เลยถูกเรียกว่าแบดมินตัน ตามชื่อคฤหาสน์ของดยุคแห่งบิวฟอร์ดตั้งแต่นั้นมากีฬาแบดมินตันเริ่มแพร่หลายในประเทศแถบภาคพื้น ยุโรปเพราะเป็นเกมที่คล้ายเทนนิส แต่สามารถเล่นได้ภายในตัวตึกโดยไม่ต้องกังวลต่อลมหรือหิมะในฤดูหนาว ชาวยุโรปที่อพยพไปสู่ทวีปอเมริกาได้นำกีฬาแบดมินตันไปเผยแพร่ รวมทั้งประเทศต่างๆในทวีปเอเชียและออสเตรเลียที่อยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ เนเธอร์แลนด์ต่างนำเกมแบดมินตันไปเล่นยังประเทศของตนอย่างแพร่หลายเกมกีฬาแบดมินตันจึงกระจายไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วยการเล่นแบดมินตันในระยะแรกๆ มิได้มีกฎเกณฑ์แต่เป็นเพียงตีโต้ลูกกันไปมาไม่ให้ลูกตกพื้นเท่านั้นเส้นแบ่งแดนก็ใช้ตาข่ายผูกโยงระหว่างต้นไม้สองต้นไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต่ำสูง เล่นกันข้างละไม่น้อยกว่า 4 คน ส่วนมาจะเล่นทีมละ 6 ถึง 9 คนผู้เล่นแต่งตัวตามสบาย สุภาพสตรีสวมกระโปรงยาวทั้งชุดใส่หมวกติดผ้าลายลูกไม้ สุภาพบุรุษแต่งสากลผูกโบว์ไทด์เพราะกีฬาแบดมินตันได้รับความนิยมแพร่หลายออกไปตามบ้านข้าราชการ พ่อค้าคหบดี และประชาชน จนกระทั่งปี พ.ศ. 2436 ได้มีการจัดตั้งสมาคมแบดมินตันแห่งประเทศอังกฤษขึ้นซึ่งนับเป็นสมาคมแบดมินตันแห่งแรกของโลกมีการจัดแข่งขันแบดมินตันชิงชนะเลิศแห่งประเทศอังกฤษ หรือที่เรียกกันว่าออลอิงแลนด์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2432 เป็นต้นมาได้ตั้งกฎเกณฑ์ของสนามมาตรฐานขึ้นคือ ขนาดกว้าง 22 ฟุต ยาว 45 ฟุต เป็นสนามขนาดมาตรฐานประเภทคู่ที่ใช้ในปัจจุบันตั้งแต่นั้นมาการปรับปรุงดัดแปลงในเรื่องอุปกรณ์การเล่นได้กระทำให้ดีขึ้นเป็นลำดับ ต่อมาได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วโลกประเทศในเอเชียอาคเนย์ที่มีการเล่นกีฬาแบดมินตันและได้รับความนิยมสูงสุดคืออินโดนีเซีย มาเลเซีย และประเทศไทยนอกจากประเทศอังกฤษแล้วการเล่นที่น่าดูมีขึ้นที่ประเทศแคนาดาและเดนมาร์กด้วยเหตุผลที่ควรสนใจอย่างกว้างขวางทั่วโลกในกีฬาประเภทนี้การแข่งขันระหว่างประเทศจึงได้จัดให้มีขึ้นในปี พ.ศ. 2445 และตลอดเวลาหลายปีที่ผ่านมาจำนวนประเทศที่เข้าร่วมแข่งขันกีฬาแบดมินตันระหว่างประเทศมีมากว่า 31 ประเทศ
แบดมินตันได้กลายเป็นเกมกีฬาที่เล่นกันระหว่างชาติโดยมีการยกทีมข้ามประเทศเพื่อแข็งขันระหว่างชาติในทวีปยุโรป ในปี พ.ศ.2468 กลุ่มนักกีฬาของประเทศอังกฤษได้แข่งขันกับกลุ่มนักกีฬาประเทศแคนาดาห้าปีหลังจากนั้นพบว่าประเทศแคนาดามีสโมสรสำหรับฝึกแบดมินตันมาตรฐานแทบทุกเมือง

2.2 การผลิตสื่อวีดีทัศน์เพื่อการประชาสัมพันธ์
ปัจจุบัน วีดีทัศน์เป็นสื่อในการเรียนรู้ที่มีบทบาทมาก จากลักษณะของสื่อที่ใช้งานง่ายๆ สามารถสร้างความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน โดยการบันทึกวีดีโอ สามารถนำมาใช้เป็นสื่อในการเรียนการสอนได้และยังสามารถบันทึกกิจกรรมหรือผลิตสื่อในการนำเสนอหน่วยงานได้ ในปัจจุบันอุปกรณ์ในการถ่ายทำสามารถหาได้ง่าย ราคาไม่สูง การผลิตสามารถทำได้โดยใช้กล้องถ่ายภาพนิ่งดิจิตอลที่สามารถถ่าย    วีดีทัศน์ได้ หรือใช้กล้องวีดีทัศน์ ทุกคนสามารถใช้ร่วมกับโปรแกรมตัดต่อ ด้วยโปรแกรมที่มากับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ สามารถนำภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวเพื่อนำไปใช้ประกอบการสร้าง Web Page รวมไปถึงการสร้างสื่อเพื่อนำไปใส่ใน CD-ROM เหมาะกับการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ในการเรียนการสอนเนื้อหาวิชาต่างๆ หลักสูตรนี้จึงมุ้งเน้นเพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความเข้าใจในการสร้างสื่อมัลติมีเดียในรูปแบบต่างๆ สามารถเปลี่ยนจากสื่อทุกประเภท ทุกรูปแบบ ที่มีเป็นสื่อที่อยู่ในแผ่น CD หรือนำไปใช้บนเว็บไซต์หรือแม้กระทั่งในโทรศัพท์มือถือ





กล่าวถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องที่นำมาใช้ในการทำโครงงาน และต้องครบถ้วน
เท่าที่ตรวจพบนักศึกษามักจะลอกหนังสือตำรา หรือบทที่ 2 ของกลุ่มอื่นมา ซึ่งเป็นเรื่องที่ไร้มารยาททางวิชาการ ให้นักศึกษาเรียบเรียงให้กระชับ แล้วอ้างอิงเอกสารที่นำข้อมูลมานั้นในบรรณานุกรม
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น